ประวัติความเป็นมา
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย ดังเช่นปัจจุบัน จัดตั้งขึ้นเนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการ (กระทรวงธรรมการเดิม) ได้เล็งเห็นความสำคัญของการอนุบาลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาเด็ก จึงมีนโยบายจัดตั้งโรงเรียนอนุบาลของรัฐขึ้น และขณะดำเนินการจัดเตรียมครู กระทรวงฯ ได้รับเงินบริจาคจากนางสาวลออ หลิมเซ่งไถ่ จึงได้นำเงินนั้นมาสร้างตึกละอออุทิศขึ้นในโรงเรียนการเรือนพระนคร (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ปัจจุบัน) เรียกว่า โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ สังกัดกองฝึกหัดครู ถือว่าเป็นโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกของกระทรวงศึกษาธิการ เปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2483 ในระยะเวลา 1 ปี ประชาชนให้ความสนใจนำบุตรหลานเข้ามาเรียนเป็นจำนวนมาก กระทรวงศึกษาธิการ จึงมอบหมายให้ กองฝึกหัดครูโดย มล.มานิจ ชุมสาย ดำเนินการเปิดรับนักเรียนฝึกหัดครูที่สำเร็จประกาศนียบัตรประโยคครูประถมมาเข้ารับการอบรมการเป็นครูอนุบาลที่โรงเรียนอนุบาลละอออุทิส หลักสูตร 1 ปี แผนกฝึกหัดครูอนุบาลเปิดเป็นครั้งแรกในปีการศึกษา 2484 ต่อมากระทรวงศึกษาธิการมีโครงการที่จะเปิดโรงเรียนอนุบาลขึ้นเป็นตัวอย่างจังหวัดละ 1 โรงเรียนให้ครอบคลุมทุกจังหวัด จึงได้มีการขยายการฝึกหัดครูอนุบาลโดยให้
นางสาวเบญจา ตุงคะศิริ (คุณหญิงเบญจา แสงมลิ) รับหน้าที่เป็นหัวหน้าแผนกฝึกหัดครูอนุบาลเป็นคนแรก และเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญยิ่งในการวางรากฐานด้านการฝึกหัดครูอนุบาลของประเทศไทยอีกทั้งยังเป็นผู้เสนอปรับปรุงหลักสูตรจากการอบรมครูอนุบาล (พ.ศ.2484 – 2485) มาเป็นหลักสูตรการอนุบาลศึกษาซึ่งถือได้ว่าเป็นการจัดการศึกษาสำหรับการฝึกหัดครูอนุบาลเป็นครั้งแรก ระยะต่อมามีการพัฒนาขึ้นตามลำดับ จนเป็นหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย ดังเช่นปัจจุบัน
หลักสูตรปัจจุบัน
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (หลักสูตรสี่ปี) มหาวิทยาลัยสวนดุสิต พุทธศักราช 2562 จัดการศึกษาในรูปแบบวิชาเอก-โท โดยมีวิชาเอกการศึกษาปฐวัย และ วิชาโท ภาษาอังกฤษ ซึ่งพัฒนาจาก หลักสูตรปรับปรุงศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 (หลักสูตรห้าปี)
หลักสูตรฉบับนี้ให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต ควบคู่กับแนวคิดการเรียนรู้จากการทำงานเป็นฐานและการบูรณาการเทคโนโลยีในการเรียนรู้ โดยได้ปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตรให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) และแนวนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิและมาตรฐานวิชาชีพครู เน้นจุดเด่นด้านบุคลิกภาพ ภาษา และการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตามวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จริงในสิ่งที่ทำ เชื่อมโยงกิจกรรมในห้องเรียนสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาปฐมวัย โดยมีโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ และโรงเรียนเครือข่ายเป็นสถานที่ฝึกประสบการณ์สำคัญในการเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นครูปฐมวัยมืออาชีพในอนาคต
History
The Early Childhood Education course was established by the Ministry of Education as they recognised the importance of early years education for young children development. The Ministry of Education formulated the policy to set public kindergarten and teacher’s preparation. The Ministry acquired the donation from Mrs Laor Lim-Seng-Tai to build the buildings in “Kan-Ruen Pranakohn” school (Suan Dusit university) which is called Laor-Utis kindergarten under the Teacher Training Division. The kindergarten had first opened on 2nd September 1940. In the first year, a number of people were interested in bringing their children to study. The Ministry of Education, therefore, assigned to the Teacher Training Division, by ML Manit Chumsai, to operate Teacher Training course to trained pre-serviced primary teacher – for one year course- in 1941. Afterwards, the Ministry of Education planned the project to establish a kindergarten in each province across the country. The Teacher Training has been expanded by Ms Benja Tungkasiri (Khunying Benja Sangmali) who was the head teacher in Kindergarten Teacher Training and took an important role in setting up the foundation of the course as well as developed the first Early Childhood curriculum in 1941-1942. Later on, the course has been developed to the Early Childhood Education course as seen nowadays.
The current course
Bachelor of Early Childhood Education at Suan Dusit University (4 years program) B.C. 2562 (2019) provided education with major subjects (Early Childhood education) and minor subjects (English language). This courses has been improved from the Early Childhood Education (5 years program) B.C. 2560 (2017).
Our curriculum focuses on student’s needs along with the concept of work-based learning and the integration of learning technology. This course was improved to be accorded with the 12th National Economic and Social Development Plan (2017-2021) and Thailand 4.0 policy under the Qualifications Framework and Teaching Profession Scheme. This highlights the characteristics of teachers, language skills and technology which are the unique identities of Suan Dusit University. The university emphasises a matter of knowledge, the ability to link the classroom activities into the practices in the Early Childhood settings. The cooperation with Laor-Utis Demonstrations School and our school network offer students the opportunities to practice the essential experience in preparation for the future careers.
Course information
The Academic year
Official date and time for full time students
Semester 1: August – December
Semester 2: January – May
Summer semester: June – August
Student qualifications
- Graduated from high school or equivalent to the educational institute recognised by the Ministry of Education.
- Passed the Academic Admissions from the National examinations or passed the requirements of Suan Dusit university.
- Passed the “Teachers Characteristics Test”.
- Obtained the English language test regarding to the university’s criteria.
- For international students: required a good Thai language skills- you must be able to speak listen read and write Thai language, and must meet the qualifications under 1) to 3).
- Have an appropriate character and personality which is not hinder to professional teaching, have a passion to work with young children, and seek to new knowledge.
Career opportunities
- A preschool teacher/early childhood educator; in educational institutions in both public or private sectors or international educational institutions.
- An academic scholar.
- Self-employed professionals
สถานที่จัดการเรียนการสอน
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร วิทยาเขตสุพรรณบุรี ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง นครนายก และ ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลำปาง