โครงการ “ จัดทำสื่อการสอนระดับปฐมวัย”

โครงการ “ จัดทำสื่อการสอนระดับปฐมวัย”

หลักการและเหตุผล

เด็กอายุ 3-5 ปี เป็นช่วงวัยที่มีพัฒนาการเจริญเติบโตและเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กในวัยนี้จะเข้าใจจากรูปธรรมไปสู่นามธรรม การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กในระดับปฐมวัย จึงจำเป็นจะต้องมีสื่อการเรียนการสอนเพื่อเด็กจะสามารถเกิดการรับรู้และเข้าใจเนื้อหา สาระ ในแผนการจัดประสบการณ์ โดยที่ครูเป็นผู้เอื้ออำนวยจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน

ดังนั้น จึงจัดโครงการ จัดทำสื่อการเรียนการสอนปฐมวัยขึ้นเพื่อให้ครูผู้สอนนักเรียนระดับปฐมวัยได้มีความรู้ความสามรถ ในการจัดทำสื่อการสอนมากยิ่งขึ้น และสามารถนำไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้เกิดการพัฒนาต่อไป

วัตถุประสงค์

  • ครูมีความรู้ความสารถ ในด้านการจัดทำสื่อการเรียนการสอนได้เหมาะสมและกระตุ้นนักเรียนให้เกิดความสนใจ
    ต่อการเรียนมากขึ้น
  • นักเรียนเกิดการเรียนรู้และเข้าใจในเนื้อหาสาระต่อกิจกรรมการเรียนการสอนได้ดีขึ้น

เป้าหมาย

จัดการอบรมเสริมความรู้ในเรื่อง การจัดทำสื่อการเรียนการสอนปฐมวัยให้แก่ครูผู้สอน ระดับปฐมวัย โรงเรียนเทศบาลปทุมธานีและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองปทุมธานี จำนวน 18 คน

วิธีการดำเนินงาน

  • เขียนโครงการจัดทำสื่อการสอนระดับปฐมวัย
  • ขออนุมัติโครงการ
  • ดำเนินการอบรม
  • สรุปผล (ความรู้ที่ได้จากการอบรม)

สถานที่

จัดการอบรมเรื่องการจัดทำสื่อการสอนระดับปฐมวัย ณ ภาควิชาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

ระยะเวลาการดำเนินงาน

ตั้งแต่วันที่ 28 – 29 มีนาคม 2548

งบประมาณ

งบประมาณเทศบาลเมืองปทุมธานี ประจำปีงบประมาณ 2548 แผนงานการศึกษางาน ก่อนวัยเรียนและประถมศึกษา โครงการจัดทำสื่อการสอนระดับปฐมวัย เป็นจำนวนเงิน 25,000 บาท

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  • ครูสามารถนำมาความรู้จาการอบรมเรื่องสื่อการสอนนำไปใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับนักเรียนได้
  • นักเรียนได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านร่างการ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา และพร้อมที่จะเรียนต่อในระดับประถมศึกษาต่อไป

ผู้รับผิดชอบโครงการ

อาจารย์โปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

ผลการดำเนินงาน

จากการประเมินโครงการ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คือ อาหารและเครื่องดื่ม สำหรับระดับความพึงพอใจที่อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับความพึงพอใจได้ดังนี้ บรรยากาศในการอบรม การร่วมแสดงความคิดเห็น การซักถามปัญหา ความชัดเจนของเนื้อหาในการอบรม ความรู้ที่ได้รับจากการอบรม การเชื่อมโยงความรู้สู่วิชาชีพ เอกสารประกอบการอบรม การจัดลำดับเรื่องต่าง ๆ ในการอบรมเทคนิคและวิธีการบรรยาย ระยะในการอบรม การยกตัวอย่างประกอบ สถานที่ในการบรรยาย