อาจารย์พรรัก อินทรามระ และ อาจารย์วิมลรัตน์ ศาสตร์สุภาพ ส่งตัวนักศึกษา ชั้นปีที่ 5 ฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ณ โรงเรียนอนุบาลนนทบุรี
[gview file=”http://child.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2018/11/ข่าวประชาสัมพันธ์-อนุบาลนนทบุรี.pdf”]
[gview file=”http://child.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2018/11/ข่าวประชาสัมพันธ์-อนุบาลนนทบุรี.pdf”]
กิจกรรมการประชุมคณาจารย์ หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ร่วมกันระหว่าง ในมหาวิทยาลัย วิทยาเขตและศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง
กิจกรรมปฐมนิเทศ นศ.ฝึกสอน 24 ตุลาคม 2561
เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คณาจารย์และนักศึกษาสามารถแจ้งความประสงค์เกี่ยวกับควาามต้องการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ได้ทั้ง 4 ด้าน ด้านห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้ผ่านระบบเครือข่าย ด้านกายภาพที่เหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอนและพัฒนานักศึกษา ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ด้านระบบสาธารณูปโภคและการรักษาความปลอดภัยภายในอาคาร
คณาจารย์และนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ประจำสัปดาห์ครั้งที่ 2 ในวันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม 2561 ระหว่างนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ ประเทศไทย ชั้นปีที่ 1 จำนวน 27 คน นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 6 คน ที่ฝึกปฏิบัติการระหว่างเรียนในชั้นเรียนร่วมกัน และ นักศึกษาจากหลักสูตร Early Childhood Studies, Liverpool John Moores University ประเทศสหราชอาณาจักรอังกฤษ จำนวน 6 คนโดยประเด็นการสะท้อนคิดเกี่ยวกับ “การจัดการศึกษาปฐมวัย ประเทศสหราชอาณาจักร กับ ประเทศไทย ความเหมือนหรือความแตกต่าง?” ประเด็นสำคัญ อาทิเช่น การเรียนในประเทศสหราชอาณาจักร เป็นการเรียนแบบโมดูล ในขณะที่ประเทศไทยมีการเรียนที่แบ่งเป็นรายวิชา การเลี้ยงดูเด็กใน Daycare เด็กจะอยู่ในโรงเรียนครึ่งวันผู้ปกครองสามารถเลือกได้ว่าส่งเด็กเข้าโรงเรียนครึ่งเช้าหรือครึ่งบ่าย ทำให้เด็กไม่มีการนอนกลางวันที่โรงเรียน ขณะที่ประเทศไทยเด็กปฐมวัยจะอยู่ในโรงเรียนในช่วงเวลาระหว่าง 7:00-15.30 น. มีการนอนกลางวันประมาณ […]
คณาจารย์และนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ประจำสัปดาห์ครั้งที่ 1 ในวันศุกร์ที่ 12 มกราคม 2560 ระหว่างนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ ประเทศไทยและ นักศึกษาจากหลักสูตร Early Childhood Studies, Liverpool John Moores University ประเทศสหราชอาณาจักรอังกฤษ โดยประเด็นการสะท้อนคิดเกี่ยวกับประสบการณ์จากการสังเกตพฤติกรรมการอยู่ในห้องเรียน ทั้งการปรับตัว ความเหมือนและความแตกต่างของการดูแลเด็ก สังคม วัฒนธรรม ผลที่ได้คือ เทคนิคเกี่ยวกับการปรับตัวเมื่อเริ่มเข้าห้องเรียนที่มีความแตกต่างด้านวัฒนธรรม เทคนิคการจำชื่อเด็ก เทคนิคการปฏิบัติต่อเด็ก ที่สามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ของนักศึกษาทั้งสองประเทศ
Summary Report International Seminar on “Construction Guidelines for Standars and Competency Framework of Early Childhood Education” 20 July-3 August, 2016. Suan Dusit University.