การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ iPad โครงการความร่วมมือทางวิชาการฯ
แนวทางการใช้ iPad เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย ในโครงการความร่วมมือทางวิชาการฯ
แนวทางการใช้ iPad เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย ในโครงการความร่วมมือทางวิชาการฯ
ผลงานของนักศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ในโครงการความร่วมมือทางวิชาการ
โครงการความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระหว่าง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต หลักการและเหตุผล การพัฒนาประเทศเพื่อให้สามารถก้าวสู่การแข่งขันในเวทีโลก ต้องพัฒนากระบวนการจัดการศึกษาของชาติ ให้มีมาตรฐานทางวิชาการในระดับสากล จากรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ละนโยบายด้านการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งความรู้ และเพื่อให้คนไทยทั้งปวงได้รับโอกาสเท่าเทียมกันทางการศึกษา พัฒนาคนได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต อันเป็นเงื่อนไขไปสู่ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ที่พึงประสงค์ การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นประเด็นเร่งด่วน อย่างหนึ่งในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล การพัฒนาบุคลากร ทางการศึกษาทั้งภาครัฐ และ เอกชน ผู้นำชุมชน และ ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงเป็นยุทธศาสตร์หลักในการสร้างกลไก และ เป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญยิ่ง ในการปฏิรูปการศึกษาให้บรรลุเป้าหมาย อย่างมีประสิทธิภาพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทและภารกิจที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งในการจัดการศึกษาเพื่อท้องถิ่น และชุมชน โดยเฉพาะการพัฒนาการศึกษาในส่วนของศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย บุคลากรทางการศึกษาซึ่งประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ ผู้ดูแลเด็กเล็ก ครู จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาเพื่อให้เกิดสมรรถนะในด้านการปฏิบัติงานให้ได้ตามมาตรฐานหลักสูตร และมีความมั่นคงในวิชาชีพ บุคลากรทางการศึกษาสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่นยังมีเป็นจำนวนมาก ที่จะต้องได้รับการพัฒนาในการเข้าศึกษา ต่อในระดับปริญญาตรี และปริญญาโททางด้านการศึกษา จากการที่บุคลากรประจำศูนย์เด็กเล็กทั่วประเทศ จากกรมการพัฒนาชุมชน กรมศาสนา […]
ประชุม เตรียมการสัมมนา “การพัฒนาครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 บนพื้นฐานมาตรฐานครูปฐมวัยอาเซียน ” ในโครงการความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเครือข่ายและคณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ร่วมมือกับกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงต่างๆ ประเทศ และสถานอักครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2559 เวลา 9.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมคณะครุศาสตร์ 435 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เพื่อกำหนดแนวทางการจัดงาน และ (ร่าง) กำหนดการสัมมนา สำหรับงานที่จะดำเนินการระหว่างวันที่ 19-29 กรกฎาคม พ.ศ.2559
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จัดการแสดงผลงานนิทรรศการและการสัมมนาทางวิชาการ เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ปี 5 เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 ตั้งแต่เวลา 9.00-12.30 น. ณ หอประชุมรักตะกนิษฐ์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต คณาจารย์ประจำหลักสูตร คณะกรรมการบริหารบริหาร และ ผู้บริหารโรงเรียนอนุบาล ทั้งในสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร สำนักงานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน และโรงเรียนสาธิตในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเข้าร่วมเยี่ยมชมนิทรรศการ และรับฟังการนำเสนอผลงานวิจัยของนักศึกษาในครั้งนี้ เบื้องหลังความสำคัญ คือ การจัดเตรียมงานก่อนเริ่มวันแสดงนิทรรศการ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 ณ หอประชุมรักตะกนิษฐ์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ตั้งแต่เวลา 13.00-19.00 น.
กิจกรรมเสริมความรู้ระหว่างเรียน … ในรายวิชา
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จัดการประชุมกลุ่ม (Focus Group) ของผู้ใช้บัณฑิต เพื่อระดมความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อการจัดการศึกษา กิจกรรม และ คุณลักษณะของบัณฑิต ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการพัฒนาหลักสูตรปฐมวัยในอนาคต โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุทธิพรรณ ธีรพงศ์ ประธานหลักสูตร เป็นประธานในการจัดการประชุมกลุ่ม เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลา 10.30-12.00 น. ณ ศาลาชื่นอารมณ์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยมีคณาจารย์ประจำหลักสูตร คณะกรรมการบริหารบริหาร และ ผู้บริหารโรงเรียนอนุบาล ทั้งในสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร สำนักงานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน และโรงเรียนสาธิตในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้
โครงการ “เรียน-เล่น เสริมความรู้ภาคฤดูร้อน” หลักการและเหตุผล ในปัจจุบันพนักงานของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติต้องปรับตัวเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานของตนเอง ให้เกิดประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาองค์กรให้มีความก้าวหน้าต่อไปในอนาคตในขณะเดียวกัน ยังมีพนักงานจำนวนมากต้องรับภาระหน้าที่ ในการรับผิดชอบดูแลบุตรหลานของตนนอกเหนือการปฏิบัติหน้าที่ปกติในแต่ละวันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปิดภาคการศึกษา ทำให้ไม่อาจปฏิบัติงานของตนได้อย่างเต็มความสามารถ โดยที่ ในเดือนช่วงระหว่างมีนาคม – เดือนพฤษภาคม เป็นระยะเวลาของการปิดภาคเรียนฤดูร้อนของโรงเรียนต่าง ๆ ในทุกระดับชั้น ซึ่งมีพนักงานของสำนักงาน ฯ จำนวนมากที่มีบุตรหลานอยู่ในวัยเรียนดังกล่าวและต้องรับภาระในการดูแลบุตรหลาน และเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องต่างๆ ในช่วงปิดภาคเรียน ซึ่งเป็นการส่งเสริมความรู้และพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนของชาติอีกทางหนึ่ง รวมทั้งเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานของพนักงาน วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมความรู้และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่เยาวชนของชาติ เพื่อเป็นสวัสดิการให้แก่พนักงานของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมคมแห่งชาติ เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กรมไปรษณีย์โทรเลข เพื่อเป็นการปลุกจิตสำนึกให้พนักงานให้มีความรักในองค์กร เพื่อให้พนักงานสามารถทุ่มเทและอุทิศตนให้กับการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มความสามารถและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร เพื่อให้เกิดสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสถาบันครอบครัวและองค์กร เพื่อเป็นการพัฒนาร่างกาย อารมณ์และสติปัญญาให้แก่พนักงานของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการให้บริการแก่สังคมและชุมชนของหน่วยงาน รูปแบบของโครงการ จัดตั้งศูนย์ดูแลบุตรหลานพนักงานของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติที่มีอายุระหว่าง 2 – 12 ปี ในช่วงปิดภาคเรียนการศึกษาโดยเชิญคณะอาจารย์จากฝ่ายการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มาดำเนินการ ” โครงการเรียน-เล่น เสริมความรู้ภาคฤดูร้อน” ระหว่างวันที่ 21 มีนาคม – 4 พฤษภาคม 2548 รวม 28 วันทำการ โดยการจัดกิจกรรมต่างๆ ภายในสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติและทัศนศึกษานอกสถานที่ เพื่อเป็นการพัฒนาทักษะความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและพัฒนาระเบียบวินัย […]
โครงการ “ จัดทำสื่อการสอนระดับปฐมวัย” หลักการและเหตุผล เด็กอายุ 3-5 ปี เป็นช่วงวัยที่มีพัฒนาการเจริญเติบโตและเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กในวัยนี้จะเข้าใจจากรูปธรรมไปสู่นามธรรม การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กในระดับปฐมวัย จึงจำเป็นจะต้องมีสื่อการเรียนการสอนเพื่อเด็กจะสามารถเกิดการรับรู้และเข้าใจเนื้อหา สาระ ในแผนการจัดประสบการณ์ โดยที่ครูเป็นผู้เอื้ออำนวยจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน ดังนั้น จึงจัดโครงการ จัดทำสื่อการเรียนการสอนปฐมวัยขึ้นเพื่อให้ครูผู้สอนนักเรียนระดับปฐมวัยได้มีความรู้ความสามรถ ในการจัดทำสื่อการสอนมากยิ่งขึ้น และสามารถนำไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้เกิดการพัฒนาต่อไป วัตถุประสงค์ ครูมีความรู้ความสารถ ในด้านการจัดทำสื่อการเรียนการสอนได้เหมาะสมและกระตุ้นนักเรียนให้เกิดความสนใจ ต่อการเรียนมากขึ้น นักเรียนเกิดการเรียนรู้และเข้าใจในเนื้อหาสาระต่อกิจกรรมการเรียนการสอนได้ดีขึ้น เป้าหมาย จัดการอบรมเสริมความรู้ในเรื่อง การจัดทำสื่อการเรียนการสอนปฐมวัยให้แก่ครูผู้สอน ระดับปฐมวัย โรงเรียนเทศบาลปทุมธานีและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองปทุมธานี จำนวน 18 คน วิธีการดำเนินงาน เขียนโครงการจัดทำสื่อการสอนระดับปฐมวัย ขออนุมัติโครงการ ดำเนินการอบรม สรุปผล (ความรู้ที่ได้จากการอบรม) สถานที่ จัดการอบรมเรื่องการจัดทำสื่อการสอนระดับปฐมวัย ณ ภาควิชาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ระยะเวลาการดำเนินงาน ตั้งแต่วันที่ 28 – 29 มีนาคม 2548 งบประมาณ งบประมาณเทศบาลเมืองปทุมธานี ประจำปีงบประมาณ 2548 […]